การรับรอง
ด้านอาหารและการเกษตร
คุณภาพและความปลอดภัยของอาหารเป็นสิ่งที่ผู้คนทั่วโลกให้ความสำคัญมายาวนาน และถูกตอกย้ำความสำคัญด้วยความกังวลด้านสุขภาพซ้ำแล้วซ้ำเล่า
ผู้บริโภคในปัจจุบันเริ่มมองหาสัญลักษณ์ที่รับรองว่าอาหารของพวกเขาวมาจากแหล่งทรัพยากรที่ยั่งยืนและปลอดภัย
บูโร เวอริทัส ให้บริการรับรองความปลอดภัยของอาหารและวัตถุดิบแก่ผู้ประกอบการด้านอาหารโดยมีมาตรฐานข้อกำหนดที่หลายหลากให้เลือกตามความเหมาะสมของประเภทผลิตภัณฑ์
ความท้าทายทางธุรกิจ
ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตรต้องแสดงให้เห็นถึงความปลอดภัยของอาหาร ความรับผิดชอบต่อการกระทำ และผลิตภัณฑ์ต้องสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้อย่างเต็มรูปแบบ รวมถึงปฏิบัติตามกฏหมายด้านอุตสาหกรรมและมาตรฐานการกำกับดูแลที่เข้มงวดขึ้นด้วย ห่วงโซ่อาหารทั่วโลกมีความซับซ้อนมากขึ้น การทำตามมาตรฐานที่คาดไว้จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายมากกว่าในอดีต
ผู้บริโภคและหน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องต้องการรู้ที่มาที่ไปว่าอาหารผลิตจากวัตถุดิบแบบไหนและมีกระบวนการผลิตแบบใด บริการรับรองของเราจะช่วยยืนยันมาตรฐานความปลอดภัยและคุณภาพของสินค้า
เราจะสนับสนุนท่านได้อย่างไร
บริการรับรองอาหารและการเกษตรของ บูโร เวอริทัส จะนำท่านไปสู่มาตรฐานสูงสุดด้านอาหารและการเกษตร เติมเต็มข้อปฏิบัติอย่างเต็มที่ รวมถึงนำพาท่านไปสู่ตลาดสากล
แสดงให้เห็นถึงความปลอดภัยของอาหารด้วย GHP, HACCP
HACCP (Hazard Analysis Critical Control Point) คืออะไร
HACCP คือระบบการจัดการคุณภาพขั้นสุดท้าย รวมถึงการวางมาตรการในการป้องกันและตรวจติดตามแก้ไข เพื่อให้อาหารที่ผลิตนั้นมีความปลอดภัยจากเชื้อจุลินทรีย์ สารเคมี และสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ที่อาจมีอันตรายต่อผู้บริโภค
GHP (Good Hygiene Practices) คืออะไร
GHP คือหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีสำหรับการผลิต เป็นการจัดการสภาวะแวดล้อมขั้นพื้นฐานของกระบวนการผลิต เช่น การควบคุมสุขลักษณะส่วนบุคคล การควบคุมแมลงและสัตว์นำโรค การออกแบบโครงสร้างอาคารผลิตรวมถึงเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต เป็นต้น
ความสัมพันธ์ระหว่าง HACCP และ GHP
ระบบ HACCP เป็นการจัดการด้านการควบคุมกระบวนการผลิต (Process Control) ซึ่งมุ่งเน้นการจัดการกับจุดที่ได้รับการวิเคราะห์แล้วว่าเป็นตําแหน่งสําคัญหรือเป็นจุดวิกฤต (Critical Control Points) ในการควบคุมมิให้เกิดอันตรายขึ้นแก่ผู้บริโภค ส่วนระบบ GHP นั้นเป็นหลักการทั่วไปที่ว่าด้วยสุขลักษณะของการผลิตอาหาร ได้ระบุแนวทางการจัดการด้านความพร้อมของสภาวะแวดล้อมในกระบวนการผลิตอาหาร เช่น การจัดการด้านอาคาร สถานที่ทําการผลิต การบํารุงรักษาและทําความสะอาดสถานที่ ทําการผลิต เครื่องจักรและอุปกรณ์ในการผลิต การควบคุมน้ำใช้ในโรงงาน การควบคุมสารเคมี การควบคุมสิ่งแปลกปลอมทางกายภาพ การควบคุมจุลินทรีย์ การควบคุมแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะนําโรค สุขลักษณะส่วนบุคคล การระบุ การทวนสอบผลิตภัณท์ รวมถึงการเรียกคืนผลิตภัณท์
ทั้ง 2 ระบบนี้มีความสัมพันธ์กันอย่างมาก เนื่องจากสภาวะที่ว่า "สภาพแวดล้อมในการการผลิตที่ดี" ได้จากการดําเนินการตามหลัก GHP ซึ่งจะทําให้การควบคุมจุดวิกฤตมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้น ระบบ GHP จึงเป็นการจัดสุขลักษณะของการผลิตอาหารที่เป็นพื้นฐานสําคัญในการจัดทําระบบ HACCP
ISO 22000 เป็นมาตรฐานระบบการจัดการความปลอดภัยด้านอาหารที่ครอบคลุมทุกขั้นตอนของห่วงโซ่อุปทาน การจัดการความปลอดภัยของอาหารเชิงรุกตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานคือกุญแจสำคัญในการบรรเทาความเสี่ยงและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การรับรองระบบมาตรฐานการจัดการความปลอดภัยของอาหารจาก บูโร เวอริทัส ช่วยให้คุณแสดงออกถึงความมุ่งมั่นที่จะรักษามาตรฐานความปลอดภัยของอาหารให้ดียิ่งกว่าข้อกำหนดตามมาตรฐาน ร่วมกันกับ Good Hygiene Practices (GHP) และ Hazard Analysis Critical Control Points (HACCP) โดย บูโร เวอริทัส ได้รับอนุญาตจากหน่วยรับรองสากล UKAS ในการให้รับรองระบบมาตรฐานการจัดการ ISO 22000:2018
FSSC 22000 คือ มาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหารที่มีพื้นฐานมาจาก ISO 22000 และได้รับการรับรองจาก Global Food Safety Initiative (GFSI) ซึ่งเป็นที่ต้องการในหมู่ผู้ประกอบการค้าปลีกทั่วโลก
เหล่าผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารและการเกษตรของเราสามารถตรวจสอบธุรกิจของท่านตามมาตรฐานเหล่านี้ ทั้งยังมอบความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการได้รับการรับรองแก่องค์กรอีกด้วย
GAP พืช, สัตว์ และ ORGANIC พืช
GAP (Good Agricultural Practice) คือ มาตรฐานการปฏิบัติที่ดีทางการเกษตรสำหรับการผลิตพืชเพื่อการบริโภค เช่น พืชผัก ไม้ผล พืชไร่ พืชเครื่องเทศ พืชสมุนไพร สัตว์น้ำเพื่อการบริโภค เช่น กุ้ง ปลา ทุกขั้นตอนของการผลิตและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวในระดับฟาร์มเพื่อจำหน่าย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ผลิตผลที่ปลอดภัย มีคุณภาพเหมาะสำหรับการบริโภค โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม รวมถึงสุขภาพ ความปลอดภัยและสวัสดิภาพของผู้ปฏิบัติงาน
Organic คือ ระบบจัดการการผลิตด้านการเกษตรแบบองค์รวม ที่เกื้อหนุนต่อระบบนิเวศ รวมถึงความหลากหลายทางชีวภาพ วงจรชีวภาพ โดยเน้นการใช้วัสดุ ธรรมชาติ หลีกเลี่ยงการใช้วัตถุดิบจากการสังเคราะห์ และไม่ใช้ พืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ที่ได้มาจากเทคนิคการดัดแปรพันธุกรรม (genetic modification) มีการจัดการกับผลิตภัณฑ์โดยเน้นการแปรรูปด้วยความระมัดระวัง เพื่อรักษาสภาพการเป็นเกษตรอินทรีย์และคุณภาพที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ในทุกขั้นตอน
-
ขอบข่ายที่ให้การรับรอง
GAP: Aquaculture
1. GAP กรมประมง
ฟาร์มเลี้ยง&ฟาร์มเพาะและอนุบาลกุ้งทะเล
voluntary standard
กุ้งขาว กุ้งกุลาดำ กุ้งแชบ๊วย
2. GAP กรมประมง
ฟาร์มเลี้ยง&ฟาร์มเพาะและอนุบาลสัตว์น้ำจืด
voluntary standard
กุ้งก้ามกราม ปลาน้ำจืด
3. GAP กรมประมง
ฟาร์มเลี้ยง&ฟาร์มเพาะและอนุบาลปลาทะเล
voluntary standard
ปลาทะเล
4. มกษ.7401-2562
ฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล
voluntary standard
กุ้งขาว กุ้งกุลาดำ กุ้งแชบ๊วย
5. มกษ.7436-2563
ฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อการบริโภค
voluntary standard
กุ้งขาว กุ้งกุลาดำ กุ้งแชบ๊วย กุ้งก้ามกราม ปลาน้ำจืด ปลาทะเล
6. มกษ.7417-2559
ฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำจืด
voluntary standard
กุ้งก้ามกราม ปลาน้ำจื
7. มกษ.7422-2561
ฟาร์มเพาะพันธุ์และอนุบาลลูกกุ้งทะเล
voluntary standard
ลูกกุ้งขาว ลูกกุ้งกุลาดำ ลูกกุ้งแชบ๊วย
8. มกษ.7421-2561
ฟาร์มเพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์น้ำจืด
voluntary standard
กุ้งก้ามกราม ปลาน้ำจืด
9. มกษ.7432-2558
ฟาร์มผลิตลูกกุ้งขาวแวนนาไมปลอดโรค
mandatory standard
ลูกกุ้งขาวแวนนาไม ระยะนอร์เพลียส
10. มกษ.7401-565
ฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล
voluntary standard
กุ้งขาว กุ้งกุลาดำ กุ้งแชบ๊วย
GAP: Agriculture
11. มกษ.9001-2556
พืชอาหาร
voluntary standard
พืชผัก ผลไม้
12. มกษ.4400-2552
ข้าวหอมมะลิ
voluntary standard
ข้าวขาวดอกมะลิ, ข้าว กข 15
13. มกษ.4401-2551
ข้าวทั่วไป
voluntary standard
ข้าวทั่วไป, กข 6
14. มกษ.9001-2564
พืชอาหาร
voluntary standard
พืชผัก ผลไม้
Organic: Agriculture
15. มกษ.9000 เล่ม 1
พืชอินทรีย์
voluntary standard
พืชผัก ผลไม้ อินทรีย์
16. มกษ.9000 เล่ม 4
ข้าวอินทรีย์
voluntary standard
ข้าวขาวดอกมะลิ, ข้าว กข 15, ข้าวทั่วไป อินทรีย์
17.มกษ.9000-2564
เกษตรอินทรีย์
voluntary standard
พื้นผัก ผลไม้ ข้าวขาวดอกมะลิ, ข้าว กข 15, ข้าวทั่วไป
-
หลักเกณฑ์และเงื่อนไข
RE-01 Rev.1.3 การรับรองระบบการผลิตตามมาตรฐาน GAP และ Organic
RE-02 Rev.1.3 การตรวจประเมินระบบการผลิตตามมาตรฐาน GAP และ Organic
RE-03 Rev.1.0 หลักเกณฑ์คุณสมบัติ ผู้พิจารณาให้การรับรอง
RE-04 Rev.1.3 หลักเกณฑ์คุณสมบัติของหัวหน้าผู้ตรวจประเมิน ผู้ตรวจประเมิน และผู้เชี่ยวชาญ
RE-05 Rev. 1.1 หลักเกณฑ์และเงื่อนไข การใช้ใบรับรองและเครื่องหมายรับรอง
-
แบบคำขอรับการรับรอง
FM-QP-09-01 Rev.1.1 แบบคำขอรับการรับรองแบบกลุ่ม-แบบมีหลายสาขา ด้านประมง
FM-QP-09-02 Rev.1.1 แบบคำขอรับการรับรองแบบเดี่ยว ด้านประมง
FM-QP-09-03 Rev.1.1 แบบคำขอรับการรับรองแบบกลุ่ม-แบบมีหลายสาขา ด้านพืช
FM-QP-09-04 Rev.1.1 แบบคำขอรับการรับรองแบบเดี่ยว ด้านพืช
FM-QP-09-05 REV.1.0 แบบคำขอรับรอง (กรณีรับงานจากหน่วยงานราชการ)
FM-QP-09-06 REV.1.0 แบบคำขอรับการรับรองแบบเดี่ยว ด้านเกษตรอินทรีย์
FM-QP-09-07 REV.1.0 แบบคำขอรับการรับรองแบบมีหลายสาขาหรือมีหลายพื้นที่ ด้านประมง
FM-QP-09-08 REV.1.0 แบบคำขอรับการรับรองแบบมีหลายสาขาหรือมีหลายพื้นที่ ด้านพืช
-
การปรับเปลี่ยนระเบียบปฏิบัติสำหรับการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล
PCHF Client list
see moreบูโร เวอริทัส ผู้เชี่ยวชาญในการรับรองด้านอาหารและการเกษตร
การมีใบรับรองด้านอาหารและการเกษตรจาก บูโร เวอริทัส จะช่วยให้องค์กรของคุณก้าวไปอยู่ในแนวหน้าของวงการ ทั้งด้านชื่อเสียงและความท้าทาย รวมถึงมีภาพลักษณ์องค์กรที่ดีขึ้นด้วย
บูโร เวอริทัส มีผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารและการเกษตรกว่า 5,700 คนที่พร้อมปฏิบัติการใน 140 ประเทศทั่วโลก ด้วยความรู้ด้านอุตสาหกรรมอาหารที่กว้างขวางและความรู้เกี่ยวกับข้อบังคับและการตลาดท้องถิ่น
เราเป็นที่รู้จักในหมู่ผู้ให้การรับรองทั้งระดับชาติและสากลกว่า 50 แห่ง เครื่องหมายการรับรองด้านอาหารและการเกษตรของเราคือสัญลักษณ์ของคำมั่นสัญญาว่าองค์กรจะก้าวไปสู่ความเป็นเลิศต่อไป
ISO 19011:2018:Guidelines for auditing management systems
Download