Image
carbon climate cop26

COP26 ส่งผลต่อตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ (voluntary carbon market) อย่างไร

Nov. 1 2021

พายุ อุทกภัย และภัยพิบัติทางธรรมชาติอื่น ๆ สร้างความหวาดกลัวและความลำบากให้มนุษย์เป็นอย่างมาก รวมถึงมลพิษทางอากาศที่เป็นผลพวงจาก climate change ก็สร้างผลกระทบต่อพื้นที่สีเขียวทั่วโลกเช่นกัน ปัญหาเหล่านี้คือสัญญาณว่าถึงเวลาแล้วที่นานาประเทศและองค์กรทั่วโลกต้องจับมือกันเพื่อลงมือพลิกวิกฤตโลกให้กลับมามีเสถียรภาพดังเดิมให้ได้

ลุยทางลัดกับการประชุม COP26

งานประชุมเรื่อง climate change หรือ COP26 จะถูกจัดขึ้นที่กลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ ตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคมจนถึง 12 พฤศจิกายนนี้ ประเด็นสำคัญของการประชุมครั้งนี้คือ Paris Agreement ที่ว่าด้วยเรื่องการจัดการกับปัญหาโลกร้อนด้วยวิธีลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจนกระทั่งค่าปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (net zero) ภายในปีศ.ศ. 2050 รวมถึงการสรุป Paris Rulebook คู่มือรายละเอียดที่จะทำให้ข้อตกลงดังกล่าวเป็นรูปธรรมมากขึ้น

ประเด็นหลักของ Paris Agreement และเป้าหมายระยะยาว คือ การให้นานาประเทศกำหนดแผนของตนโดยมุ่งเน้นที่การบรรเทาปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีความคาดหวังว่าทุกประเทศจะสามารถร่างแผนลดการปล่อยคาร์บอนตั้งแต่ปัจจุบันจนถึงปีค.ศ. 2030 ได้ก่อนการประชุมจะเริ่มต้นขึ้น ประเทศต่าง ๆ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และแคนาดา ต่างประกาศร่างเป้าหมายใหม่เรียบร้อยแล้ว แต่บางประเทศยังคงตั้งเป้าหมายจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียสดังเดิม สหรัฐอเมริกาปฏิญาณว่าจะลดการปล่อยมลพิษ 50-52% หรือไม่ถึง 57-63% ของปริมาณที่วัดได้จากปีค.ศ. 2005 ในขณะที่ญี่ปุ่นประกาศว่าจะลดการปล่อยมลพิษ 46% ของปริมาณที่วัดได้จากปีค.ศ. 2013 ซึ่งต่างจากที่กำหนดไว้ที่ 60%[1]

สุดยอดการประชุมครั้งนี้ยังได้มีการวางแผนหารือเรื่องวิธีการปกป้องชุมชนและแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ รวมถึงทำให้แน่ใจว่าประเทศมหาอำนาจต่าง ๆ จะรักษาสัญญาเรื่องการอัดฉีดเงินทุนจำนวน 100 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อบรรเทาปัญหาโลกร้อนภายในปีค.ศ. 2020 แน่นอนว่าผลลัพธ์ของความทะเยอทะยานนี้จะกลายเป็นบรรทัดฐานใหม่ที่จะกระทบต่อธุรกิจทั่วโลกอย่างมีนัยยะสำคัญ ตัวอย่างเช่น มีการคาดการณ์ว่าจะมีความคืบหน้าเรื่องวิธีการดำเนินการตามมาตราที่ 6 ของ Paris Agreement ซึ่งจะกระทบกับตลาดคาร์บอนโดยตรง มาตรานี้ช่วยให้องค์กร (หรือประเทศ) ได้ปรับสมดุลของคาร์บอนด้วยการแลกเปลี่ยนอัตราการปล่อยมลพิษเพื่อให้การดำเนินการของพวกเขามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

บทบาทขององค์กรในการต่อกรกับปัญหา climate change

มีการออกกฎหมายเพื่อจัดระเบียบเป้าหมายลดการปล่อยคาร์บอนขององค์กร ซึ่งหลายองค์กรพยายามบรรเทาปัญหา climate change ด้วยการลดคาร์บอนในส่วนของตนให้มากที่สุด[2] โดยแคมเปญ UN-backed Race to Net Zero มีองค์กรให้ความสนใจและเข้าร่วมมากกว่า 3,000 รายทั่วโลก รวมถึงองค์กรรายใหญ่ เช่น Google, Microsoft, Apple, Pfizer และ ENGIE ถึงแม้องค์กรแต่ละรายจะมีวิธีการดำเนินการต่างกัน แต่สิ่งหนึ่งที่พวกเขามุ่งมั่นร่วมกันคือการบรรลุเป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (net zero) ให้เร็วที่สุด หรือภายในปีค.ศ. 2050 เป็นอย่างช้า

อย่างไรก็ตาม นอกจากเจตนารมย์อันแรงกล้าแล้ว หลายองค์กรพบว่าไม่สามารถกำจัดมลพิษที่เกิดจากพวกเขาได้อย่างสิ้นเชิง หรือไม่สามารถลดปริมาณมลพิษได้เร็วเท่าที่ต้องการ เป้าหมาย Net-zero จึงเป็นเป้าหมายที่ท้าทายและยากที่จะสำเร็จเพราะองค์กรต้องปล่อย Negative emission หรือก๊าซเพื่อหักล้างคาร์บอนอีกด้วย นั่นหมายความว่าองค์กรต้องกำจัด GHG ให้เท่ากับปริมาณที่ปล่อยออกไป ซึ่งอาจมีค่าใช้จ่ายที่สูงเกินรับไหว

องค์กรต้องเตรียมตัวอย่างไร

องค์กรต้องประยุกต์ใช้แบบแผนเศรษฐกิจ net-zero เพื่อจำกัดความเสี่ยงและปูทางให้สามารถจัดการปัญหา climate change ได้อย่างมั่นคง การเปลี่ยนผ่านไปใช้แบบแผนดังกล่าวช่วยเพิ่มมูลค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยไม่เพิ่มก๊าซเรือนกระจกแต่อย่างใด ซึ่งหมายความว่าการจัดทำแผนลดคาร์บอนที่สอดคล้องกับข้อกฎหมายคือจุดเริ่มต้นสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจทั่วโลก

ยกตัวอย่างเช่น European Union (EU) Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) กำหนดว่าผู้นำสินค้าเข้า EU จะต้องสำแดงค่าใช้จ่ายว่ามีการชำระค่าปล่อยก๊าซคาร์บอนแล้ว หรือมีใบรับรองการซื้อคาร์บอนในปริมาณที่เท่ากันกับปริมาณการผลิตสินค้าภายใต้ข้อกำหนดด้านราคาคาร์บอนของ EU

เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดดังกล่าว องค์กรจะต้องใส่ใจเรื่องการปล่อยคาร์บอนตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน ควรเริ่มประเมินตั้งแต่เนิ่น ๆ ว่าคู่ค้าในส่วนไหนที่อาจดำเนินการขัดต่อคำประกาศจากภาครัฐ เช่น CBAM และขอความร่วมมือจากคู่ค้าให้ตรวจสอบและลดการปล่อยคาร์บอนให้มากเท่าที่จะเป็นไปได้

ชดเชยมลพิษที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

องค์กรสามารถชดเชยมลพิษในส่วนที่เลี่ยงไม่ได้ด้วยการซื้อคาร์บอนเครดิตจากโครงการที่มีจุดประสงค์เพื่อกำจัดหรือลดก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศ คาร์บอนเครดิตเปรียบเหมือนใบรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ถูกกักเก็บหรือกำจัดออกไป ในขณะที่ระบบดังกล่าวถูกใช้มาเป็นสิบปี ตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ (voluntary carbon market) ก็เติบโตขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญเช่นกัน McKinsey คาดการณ์ว่าในปีค.ศ. 2020 ผู้ซื้อจะลดการใช้คาร์บอนเครดิตประมาณคาร์บอนไดออกไซค์เทียบเท่า (CO2 equivalent) 95 ล้านตัน ซึ่งมากกว่าสองเท่าของปริมาณที่ถูกซื้อในปีค.ศ. 2017[3] เนื่องด้วยความต้องการคาร์บอนเครดิตที่พุ่งสูงขั้นสอดคล้องกับข้อกฎหมายที่พัฒนาตามกาลเวลา โลกจึงจำเป็นต้องมีตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ (voluntary carbon market) ที่ใหญ่ โปร่งใส รับรองได้ และสอดคล้องกับปัจจัยแวดล้อมในขณะนั้น

ความคืบหน้าของรายงานและการรับรองความยั่งยืน

ในแบบสำรวจล่าสุดที่รวบรวมโดย บูโร เวอริทัส พบว่า 82% ขององค์กรมีความเห็นว่ารายงานเรื่อง climate change มีความสำคัญ และอีก 71% เห็นพ้องว่าการลดการปล่อยคาร์บอนมีความสำคัญต่อองค์กร โดยมีองค์กรที่ดำเนินการทำรายงานเรื่อง climate change ด้วยความสมัครใจจำนวน 36% ของแบบสอบถาม

บูโร เวอริทัส ให้บริการเกี่ยวกับการกำกับดูแลและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับ carbon footprint มากมาย เช่น ISO 14064-1, Carbon Footprint Verification

75% ของผู้ตอบแบบสอบถามเห็นตรงกันว่าการตรวจสอบกิจกรรมชดเชยคาร์บอนขององค์กรโดย third-party มีความจำเป็นต่อองค์กร ซึ่งช่วยให้องค์กรสามารถตรวจตรา ตรวจวัด ละรายงานผลการดำเนินการให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ด้านความยั่งยืน ตักตวงผลประโยชน์จากชื่อเสียง และพิสูจน์ว่าการสื่อสารขององค์กรมีความแม่นยำและโปร่งใส ดังนั้น บูโร เวอริทัส จึงได้พัฒนาบริการ Green Line มาเพื่อตอบสนองต่อความต้องการนี้

เรามีผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมช่วยเหลือองค์กรในการตรวจรับรองโครงการชดเชยและกำจัดคาร์บอนตามมาตรฐานต่าง ๆ รวมถึงกลไกการพัฒนาที่สะอาดหรือ Clean Development Mechanism ที่กำหนดขึ้นโดย UN สิ่งเหล่านี้คือการพิสูจน์ความถูกต้องของคาร์บอนเครดิตและช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutral) และการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (net zero)

แหล่งที่มา

[1] https://newclimate.org/wp-content/uploads/2021/05/CAT_2021-05-04_Briefing_Global-Update_Climate-Summit-Momentum.pdf
[2] Throughout this article, we use “carbon” to designate the basket of greenhouse gases introduced by the Kyoto Protocol: carbon dioxide, methane, nitrous oxide and fluorinated gases.
[3] A blueprint for scaling voluntary carbon markets to meet the climate challenge, McKinsey, Jan 2021, p.3.