Image
forest and road

Net Zero คืออะไร และดำเนินการอย่างไร

Jan. 25 2021

การเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศเป็นประเด็นที่เร่งด่วนในยุคของเรา ทั้งรัฐบาล เมือง และบริษัทต่างๆ ต่างตั้งเป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (net zero target) พันธกิจในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้สะท้อนความมุ่งมั่นต่อความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม และภาวะผู้นำ

อย่างไรก็ตาม การประกาศความมุ่งมั่นนั้นง่ายกว่าการบรรลุเป้าหมาย นอกจากนั้นการมีคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องมากมายจึงอาจทำให้เกิดการเข้าใจผิดได้ง่าย

Carbon Neutrality และ Net Zero ต่างกันอย่างไร?

การเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศได้เลื่อนขึ้นเป็นวาระลำดับต้นๆ ของผู้นำทางธุรกิจ พร้อมๆ กันกับแนวคิดเรื่องความเป็นกลางของคาร์บอน (carbon neutrality) นั่นหมายความว่าการบรรลุเป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในระดับบริษัท ที่ตั้ง (site) สินค้า ตราสินค้า หรือเหตุการณ์ (event) โดยการตรวจวัด (measuring) ก่อน แล้วจึงดำเนินการลดการปลดปล่อยลงในระดับที่เป็นไปได้ และชดเชยปริมาณการปลดปล่อยที่เหลือลงในระดับเทียบเท่ากับปริมาณการปลดปล่อยที่ที่หลีกเลี่ยง (avoided) หรือการชดเชยการปลดปล่อย (offset) ในภายหลัง การดำเนินการนี้จะบรรลุเป้าหมายได้ด้วยการซื้อปริมาณคาร์บอนเพื่อชดเชยกับปริมาณการปลดปล่อยที่เหลืออยู่ให้เพียงพอ

ในทางกลับกัน เป้าหมายสุทธิที่ศูนย์เป็นเป็นวัตถุประสงค์ที่ท้าทายยิ่งขึ้นหากต้องดำเนินการทั้งองค์กร และตลอดห่วงโซ่มูลค่า (value chain) เพราะมีความหมายว่าต้องมีการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม (indirect) ตั้งแต่ซัพพลายเออร์ต้นน้ำไปจนถึงผู้ใช้ปลายทาง ถือได้ว่าเป็นความท้าทายทีซับซ้อนระดับโลก เพราะบริษัทต่างๆ ไม่ได้ควบคุมห่วงโซ่มูลค่าทั้งหมด

องค์กรต่างๆ สามารถแบ่งปันความรับผิดชอบอย่างยุติธรรมต่อเป้าหมายการปลดปล่อยสุทธิเป็นศูนย์ได้อย่างไรในรายละเอียดได้ถูกกำหนดผ่านการริเริ่มแนวคิดการบรรลุเป้าหมายทางวิทยาศาสตร์ (Science Based Targets initiative) ด้วยการร่วมรณรงค์กับโครงการ Race to Zero วิธีการในการจัดการกับการปลดปล่อยที่ยังหลงเหลืออยู่ก็ต่างไปด้วย การนำก๊าซเรือนกระจกออกจากชั้นบรรยากาศเป็นความจำเป็นที่ต้องดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายปลดปล่อยสุทธิเป็นศูนย์ในระยะยาว การชดเชยก๊าซเรือนกระจกยอมรับได้ด้วยวิธีการบางวิธีเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutrality) ในระยะยาว แต่ผู้สังเกตการณ์ส่วนใหญ่เห็นพ้องว่าวิธีการเหล่านั้นสามารถใช้ได้ดีที่สุดในช่วงของมาตรการเปลี่ยนผ่านระยะสั้นสู่เส้นทางที่มุ่งสู่การปลดปล่อยสุทธิเป็นศูนย์
  

 

เราจะบรรลุเป้าหมาย Net Zero ได้อย่างไร?

การนำเป้าหมายสุทธิเป็นศูนย์มาใช้อยางแพร่หลายทั่วโลกเป็นปัจจัยสำคัญในการจัดการกับปัญหาสภาวะอากาศ ข้อตกลงปาริสมีเป้าหมายลดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส และพยายามรักษาอุณหภูมิให้อยู่ที่ระดับ 1.5 องศาเซลเซียส ในขณะเดียวกันมีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าต้องหยุดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในปี 2030 และต้องบรรลุเป้าหมายการปลดปล่อยสุทธิที่ศูนย์ไห้สำเร็จภายในกลางศตวรรษนี้เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่เลวร้ายจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศให้ได้

การบรรลุเป้าหมายสุทธิเป็นศูนย์ในระดับชาติต้องมีการลดการปลดปล่อยจากกิจกรรมทางธุรกิจปกติ (business as usual) อย่างครอบคลุมโดยการขจัดก๊าซเรือนกระจกออกจากชั้นบรรยากาศ’ บางประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดรวมทั้งญี่ปุ่น อังกฤษ และฝรั่งเศสต่างกำหนดเป้าหมายการปลดปล่อยสุทธิที่ศูนย์ในปี 2050 รวมทั้ง EU ที่วางเป้าหมายเดียวกันนี้ไว้เป็นหัวใจของโครงการ European Green Deal (ผู้แปล: European Green Deal มีแผนการดำเนินงานใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ และขจัดมลพิษ โดยมีเป้าหมายเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2050)

คำจำกัดความในทางปฏิบัติของการปลดปล่อยสุทธิเป็นศูนย์ในบริบทขององค์กรที่เห็นพ้องทั่วไป คือ สภาวะที่การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆ ภายในห่วยโซ่คุณค่าขององค์กรไม่ส่งผลผลกระทบสุทธิต่อสถาวะอากาศ ทั้งนี้ต้องมีการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายทีสอดคล้องกับเป้าหมายทางวิทยาศาสตร์ที่ 1.5 องศาเซลเซียสตลอดห่วงโซ่คุณค่า โดยการขจัดก๊าซเรือนกระจกอย่างถาวรให้เท่ากับปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศโลกเพื่อทำให้มีปริมาณการปลดปล่อยที่เป็นกลาง (neutralize) กับการปลดปล่อยบางประเภทที่ยากต่อการกำจัดที่ยังเหลืออยู่ (เฉพาะการปลดปล่อยที่ยากต่อการจำกัดเท่านั้น)

 

การเปลี่ยนแปลงระดับโลก                                                                

ต้องมีการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบาย เทคโนโลยี และพฤติกรรมในระดับมหภาคเพื่อพิชิตเป้าหมายการปลดปล่อยสุทธิเป็นศูนย์ในระดับโลกภายในกรอบเวลาที่กำหนดไว้ในข้อตกลงปาริสได้ ยกตัวอย่างเช่น มีการคาดการณ์ว่าต้องมีการใช้พลังงานหมุนเวียน 70-80% ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าทั่วโลกภายในปี 2050 และการคิดใหม่ว่าจะใช้พลังงานเพื่อการขนส่ง และจะปรับปรุงประสิทธิภาพของการผลิตอาหารอย่างไรก็มีความสำคัญเช่นกัน การลงทุนในพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลมต่างมีความสำคัญเช่นเดียวกับการพัฒนาเทคนิคการกำจัด และกักเก็บการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ในขณะที่การลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกต้องเป็นเป้าหมายของเรา การขจัดก๊าซเรือนกระจกยังคงความจำเป็นในบางภาคอุตสาหกรรมที่ยากที่จะบรรลุการปลดปล่อยเป็นศูนย์ เช่น อุตสาหกรรมการบิน การขจัดก๊าซเรือนกระจกสามารถดำเนินการได้หลายวิธ๊ จากวิธีธรรมชาติเช่นการฟื้นฟูผืนป่า และการเพิ่มการดูดซับคาร์บอนในดิน ถึงวิธีการใช้เทคโนโลยีเช่นการดักจับ และกักเก็บโดยตรง (capture and storage)

 

องค์กรต้องดำเนินการอะไรบ้าง

องค์กรต่างๆ ที่มีเป้าหมายการปลดปล่อยสุทธิเป็นศูนย์ต้องใช้วิธีการหลากหลายแง่มุม องค์กรต้องลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินการทั้งภายในองค์กร และจากห่วงโซ่อุปทาน  และใช้วิธีการชดเชยในระยะสั้นกับการปลดปล่อยที่ยากที่จะหลีกเลี่ยง โดยเริ่มจากการมีข้อมูลที่ถูกต้องเพื่อที่จะลดการปลดปล่อย ความจำเป็นลำดับต้นคือการทำความเข้าใจการปลดปล่อยประเภทต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจ นอกจากนั้นองค์กรที่มีความรับผิดชอบต้องมั่นใจว่าได้ให้ข้อมูลการปลดปล่อยที่ถูกต้อง ครอบคลุม และรายงานข้อมูลอย่างเที่ยงตรง เพื่อความโปร่งใส และสามารถสื่อสารการทวนสอบได้ (verified communications)

องค์กรต่างๆ ต้องขยายวิธีการคิดถึงก๊าซเรือนกระจกเพื่อก้าวข้ามเป้าหมายความเป็นกลางด้านคาร์บอนสู่การปลดปล่อยสุทธิเป็นศูนย์ โดย Greenhouse Gas Protocol ได้จัดประเภทของการปลดปบ่อยออกเป็น 3 ขอบเขต (ผู้แปล: Greenhouse Gas Protocol เป็นแนวทางมาตรฐานสำหรับการวัด และการจัดการก๊าซเรือนกระจกสำหรับองค์กรภาครัฐและเอกขน)

ขอบเขตของการปล่อยคาร์บอน

  • ขอบเขต 1 ครอบคลุมการปลดปล่อยจากแหล่งปลดปล่อยที่องค์กรเป็นเจ้าของ หรือควบคุมโดยตรง รวมทั้งการเผาไหม้พลังงานที่พื้นที่ขององค์กร เช่น เครื่องแก๊ซบอล์ยเลอร์ ยานพาหนะ และเครื่องปรับอากาศ
  • ขอบเขต 2 ครอบคลุมการปลดปล่อยทางอ้อม รวมทั้งการผลิตกระแสไฟฟ้า ความร้อน ความเย็น และไอน้ำที่องค์กรซื้อจากภายนอกมาใช้ดำเนินการภายในองค์กร
  • ขอบเขต 3 รวมการปลดปล่อยทางอ้อมอื่น ๆ ที่เกิดจากห่วงโซ่คุณค่าขององค์กร แหล่งปลดปล่อยเหล่านี้ยากที่จะตรวจสอบและควบคุม แต่มักมีส่วนแบ่งการปลดปล่อยมากที่สุดโดยครอบคลุมการปลดปล่อยจากซัพพลายเออร์ต้นน้ำ การเดินทางเพื่อธุรกิจ การจัดซื้อจัดจ้าง ขยะและน้ำเสีย และการอุปโภคบริโภค รวมทั้งการสิ้นสุดวงจรชีวิตของสินค้าและบริการ

 

องค์กรส่วนใหญ่ในปัจจุบันพิจารณา 2 ขอบเขตแรก แต่มีประโยชน์หลายด้านหากมีการตรวจวัดการปลดปล่อยขอบเขต 3 ด้วย

องค์กรสามารถระบุแหล่งปลดปล่อยสำคัญในห่วงโซ่อุปทาน และประเมินซัพพลายเออร์เพื่อความยั้งยืน การให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และโอกาสในการลดต้นทุน รวมทั้งการสานสัมพันธ์เชิงสร้างสรรค์กับซัพพลายเออร์ และพนักงานเพื่อช่วยกันลดการปลดปล่อย องค์กรสามารถหาหนทางเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค หรือการเตรียมการเมื่อสินค้าสิ้นสุดวงจรชิวิต (end-of-life) เช่น ร่วมมือกับผู้ค้าปลีก หรือผู้จัดจำหน่ายในโครงการรับคืนสินค้าที่สิ้นสุดวงจรชีวิตแล้ว

ดังนั้นจึงเป็นความสำคัญอย่างยิ่งที่องค์กรต้องมีพันธะในการทำความเข้าใจและลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้ง 3 ขอบเขต เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการปลดปล่อยสุทธิเป็นศูนย์

 

บูโร เวอริทัส สามารถให้ความช่วยเหลือในด้านใดได้บ้าง

บูโร เวอริทัสสนับสนุนองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม โดยให้การตรวจสอบ (audit) และทวนสอบ (verify) ความพยายามขององค์กรในการลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศ บูโร เวอริทัสทวนสอบปริมาณ และบัญชีก๊าซเรือนกระจก และรายงานความคืบหน้าขององค์กรสู่การปลดปล่อยสุทธิเป็นศูนย์ บูโร เวอริทัสตรวจสอบ (validation) และทวนสอบการชดเชย และกิจกรรมการกำจัดก๊าซเรือนกระจก เพื่อยืนยันสิทธิโดยชอบธรรมของจำนวจ carbon credit บูโร เวอริทัสมีผู้เชี่ยวชาญที่สามารถทวนสอบถ้อยแถลงขององค์กรเกี่ยวกับการดำเนินการทางธุรกิจแบบเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon-neutral business practices) และสามารถให้การทวนสอบ และรับรอบ (certification) ในหลากหลายมาตรฐาน

เป้าหมายการปลดปล่อยสุทธิเป็นศูนย์เริ่มจากการประกาศเจตนารมย์ และการติดตามผลสำเร็จ อย่างไรก็ตามองค์กรไม่ควรลดทอนความสำคัญของขั้นตอนพิเศษของการทวนสอบ หากประสงค์ที่จะสื่อสารความมุ่งมั่นพยายามอย่างโปร่งใส และถูกต้อง อันเป็นวิธีสร้างความมั่นใจของผู้มีส่วนได้เสียขององค์กร และรักษาชื่อเสียงขององค์กรในด้านการมีส่วนร่วมเพื่อกำจัดการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ

หมายเหตุ: การใช้คำว่าดาร์บอนในบทความนี้หมายถึงกลุ่มของก๊าซเรือนกระจกภายใต้พิธีสารกียวโต ประกอบด้วย คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ไนตรัสออกไซด์ (N2O) ไฮโดรฟลูออคาร์บอนซ์ (HFCs) เปอร์ฟลูออคาร์บอนส์ (PFCs) ซัลเฟอร์ เฮกซาฟลูออไลด์ (NF3) ก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้ถูกรวม และตรวจวัดเป็นหน่วยของตั้นคาร์บอนไดออกไซด์เที่ยบเท่า (tonnes of carbon dioxide equivalent: tCO2e) อันเป็นการแสดงเชิงสัมพันธ์กับความสามารถของก๊าซแต่ละประเภทที่เป็นสาเหตุของการทำลายชั้นบรรยากาศโลก