THE CORPORATE SUSTAINABILITY REPORTING DIRECTIVE (CSRD) tree

บริการตรวจสอบ รับรอง และดำเนินการตามข้อกำหนดเพื่อสนับสนุนให้มาตรการความยั่งยืนมีความโปร่งใส

Sustainability reporting webinar

เพื่อแสดงให้เห็นถึงความโปร่งใสยิ่งขึ้น Corporate Sustainability Reporting Directive (CSRD) เปรียบเสมือนการเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานขององค์กรอย่างชัดเจน บูโร เวอริทัส ช่วยให้ท่านเข้าใจข้อกำหนดและสร้างการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดี

Corporate Sustainability Reporting Directive (CSRD) คือ กฎหมายใหม่ของ EU ที่กำหนดให้องค์กรขนาดใหญ่ทั้งหลายเผยแพร่รายงานการดำเนินงานที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ช่วยให้นักลงทุน ผู้บริโภค ผู้วางเงื่อนไข และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ ได้ประเมินผลประกอบการที่ไม่เกี่ยวกับการเงินพร้อมกับส่งเสริมแนวทางธุรกิจที่มีความรับผิดชอบมากขึ้น

ยิ่งไปกว่านั้นยังมีส่วนช่วยให้บริษัทขนาดกลางและใหญ่เห็นความสำคัญของรายงานความยั่งยืนยิ่งขึ้น และเป็นครั้งแรกที่ CSRD ได้กำหนดขอบเขตการรายงานในส่วนของข้อมูลที่ไม่เกี่ยวกับการเงินด้วย

รายงานดังกล่าวมีผลบังคับใช้กับองค์กรที่เข้าเกณฑ์อย่างน้อยสองในสามข้อต่อไปนี้ มีรายได้สุทธิ 40 ล้านยูโร, งบดุล 20 ล้านยูโร, และมีพนักงานมากกว่า 250 คน องค์กรที่เข้าเกณฑ์ดังกล่าวทั้งที่ตั้งอยู่ใน EU และบริษัทต่างชาติในเครือ EU มีมากถึง 50,000 เลยทีเดียว

 

 

ทำความเข้าใจ CSRD

มาตรฐานรายงาน CSRD ช่วยให้องค์กรสามารถตรวจวัดและจัดการความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงก้าวสู่องค์กรที่สามารถตรวจวัด เปิดเผย และจัดการผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ดีกว่าเดิม ซึ่งครอบคลุมถึง

  • สิ่งแวดล้อม – ตัวอย่างเช่น climate change, มลพิษ, น้ำและทรัพยากรใต้ท้องทะเล, ความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ, และระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • สังคม – ตัวอย่างเช่น ความหลากหลายทางชีวภาพ, สิทธิมนุษยชน, เงื่อนไขการทำงาน, อาชีวอนามัยและความปลอดภัย, ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากร, ช่องว่างของรายได้, สิทธิที่เกี่ยวข้อง, แรงงานในส่วนโซ่คุณค่า, ชุมชนที่ได้รับผลกระทบ, และผู้บริโภค
  • ธรรมาภิบาล - ตัวอย่างเช่น ข้อกำหนด, การจัดการและควบคุมความเสียง, ความเป็นเจ้าของและความโปร่งใสของโครงสร้างองค์กร, ความเป็นอิสระและการกำกับดูแล, การดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบ, จริยธรรม, การต่อต้านการทุจริต และการจ่ายอย่างเป็นธรรม

บูโร เวอริทัส จะสนับสนุนท่านได้อย่างไร?

ด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญด้านความยั่งยืนที่ครบทั้งวิศวกรรมและวิทยาศาตร์ เราพร้อมส่งมอบความเข้าใจและข้อมูลเชิงลึกแก่ลูกค้าในการทบทวนกิจกรรมการดำเนินงานทั้งหมดกับมาตรฐานการรายงานความยั่งยืนใหม่ องค์กรหรือบริษัทที่เข้าเกณฑ์จะต้องนำส่งรายงานที่สอดคล้องกับ CSRD ภายในวันที่ 1 มกราคม 2567 โดยมีรายละเอียดการดำเนินงานของปีงบประมาณ 2566 ขั้นตอนดังกล่าวสร้างความท้าทายให้กับองค์กรเป็นอย่างมากเนื่องจากการเก็บข้อมูลและการตรวจประเมินต้องใช้เวลาและความร่วมมือกันระหว่างฝ่ายการเงิน ฝ่ายปฏิบัติการ ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ และฝ่ายความยั่งยืน

เรากำลังผลักดันให้หลายองค์กรดำเนินการโดยเร็ว ทีมของเราทำงานร่วมกับองค์กรด้วยการประเมินสถานการณ์ปัจจุบันและความต้องการ แล้วจึงสนับสนุนเส้นทางสู่ความสำเร็จที่เหมาะสมที่สุด

เรามีบริการ Gap analysis ที่ช่วยตรวจดูการดำเนินงานปัจจุบันขององค์กรกับตัวชี้วัดความยั่งยืนเทียบกับข้อกำหนด CSRD เพื่อทราบถึงความแตกต่างกับกระบวนการที่มีอยู่ นอกจากนี้เรายังมีการตรวจสอบและรับรองข้อมูลความยั่งยืนสำหรับการประกาศโดยสมัครใจ NFRD และจะดำเนินการกับ CSRD เช่นกัน

บูโร เวอริทัส มีประวัติความเป็นเลิศด้านการบริการความยั่งยืนมาอย่างยาวนาน และความเป็นกลางของเราช่วยให้เกิดความเชื่อมั่นได้อย่างสมบูรณ์

ประโยชน์

  • เตรียมตัวดำเนินการให้สอดคล้องกับ CSRD ใหม่ช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นและความน่าเชื่อถือ
  • แสดงให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเห็นถึงประสิทธิภาพด้านความยั่งยืน
  • ดึงดูดนักลงทุนรายบุคคล
  • ได้รับข้อมูลเรื่องการแจ้งแผนธุรกิจอย่างยุติธรรมและรับผิดชอบ
  • จัดการความเสี่ยงและประสบผลสำเร็จในด้านความยั่งยืนในระยะยาว
  • ชี้ให้เห็นถึงปัญหาและข้อแตกต่างเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจ
  • การดำเนินการทั้งหมดจะได้รับการสนับสนุนจากทีมผู้เชี่ยวชาญด้านความยั่งยืน ผู้นำระดับโลกด้านคุณภาพ อาชีวอนามัยและความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม และ CSR

เข้าใจข้อกฎหมายของรายงานความยั่งยืน

The Corporate Sustainability Reporting Directive (CSRD) เป็นตัวแทนของการเปลี่ยนแปลงองค์กรที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประจำวัน

การดำเนินงานให้สอดคล้องกับข้อกำหนดช่วยปลดล็อกผลประโยชน์ให้กับธุรกิจได้ แต่บางองค์กรยังไม่ทราบถึงความหมายของการเปลี่แปลงนี้อย่างชัดเจน บูโร เวอริทัส พร้อมช่วยเหลือท่านเสมอ เราสนับสนุนให้ท่านเข้าใจข้อกำหนดและสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกด้วยการดำเนินงานที่ถูกต้อง