Image
agriculture food

EATING GREEN: กระตุ้นความยั่งยืนในอุตสาหกรรมอาหาร

Nov. 11 2021

ผู้นำหลายประเทศทั่วโลกตบเท้าเข้าร่วมงาน COP26 สุดยอดการประชุมระดับโลกด้วยเป้าประสงค์อันแรงกล้า มุ่งมั่นดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อก้าวไปสู่เป้าหมายที่สอดคล้องกับ Paris Agreement และ United Nations (UN) Framework Convention on Climate Change สิ่งสำคัญลำดับแรกคือแผนการสู่เป้าหมาย Net zero ยิ่งไปกว่านั้นยังมองหาหนทางปรับเปลี่ยนวิธีแลกเปลี่ยนสินค้าการเกษตรต่าง ๆ เช่น เนื้อ ถั่วเหลือง และน้ำมันปาล์มให้มีความยั่งยืนยิ่งขึ้น ดังนั้นผู้นำต้องสร้างความมั่นใจว่าจะปกป้องผืนป่า ระบบนิเวศ และความหลากหลายทางชีวภาพไปพร้อม ๆ กันกับเสาะหาวิธียกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกร

ลดการปล่อยมลพิษตลอดทาง

อุตสาหกรรมอาหารสร้างก๊าซเรือนกระจกมากถึง 25% ของการปล่อยมลพิษทั่วโลก[1] ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ป่าไม้ถูกทำลาย ดังนั้นผู้ประกอบอาหารรายใหญ่จึงกระตือรือร้นที่จะจัดการห่วงโซ่อุปทานของพวกเขาให้มีกระบวนการที่ยั่งยืนมากขึ้นเพื่อควบคุมผลกระทบด้านสิ่งแวะล้อมและสังคม หลายองค์กรทั้ง upstream และ downstream จึงเกิดความมุ่งมั่นอยากริเริ่มเมื่อเล็งเห็นเทคโนโลยีใหม่ ๆ กระบวนการผลิตและข้อกำหนดที่ล้ำสมัย และการบริโภคที่ลดลง

Farm to Fork strategy ของ EU มีจุดประสงค์เพื่อปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตและจำหน่ายอาหารตลอดทาง และเป็นเสาหลักของ European Green Deal ออกแบบมาเพื่อทำให้ยุโรปกลายเป็นทวีปแรกที่บรรลุเป้าหมาย climate-neutral ภายในปีค.ศ. 2050 แผนดังกล่าวแยกย่อยออกอีก 27 แบบแผนที่ครอบคลุมทุกขั้นตอนในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อก้าวไปให้ไกลกว่า One Planet network’s Sustainable Food Systems Programme จึงถูกสร้างขึ้นในปีค.ศ. 2015 เพื่อจัดตั้งให้เป็นหน่วยงานพันธมิตรของรัฐบาล, ภาคประชาสังคม, สถาบันเพื่อการค้นคว้าและเทคโนโลยี, UN และองค์กรระหว่างประเทศและอื่น ๆ โดยโครงการต่าง ๆ ของพวกเขาจะสนับสนุนประเทศต่าง ๆ ในการก้าวไปสู่กระบวนการผลิตและบริโภคที่ยั่งยืน

ริเริ่มปฏิรูปเกษตรกรรม

การปฏิรูปเกษตรกรรมช่วยอนุรักษ์และปรับปรุงระบบอุตสาหกรรมอาหารด้วยการใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาและฟื้นฟูดินและสิ่งแวดล้อม ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาวิธีการดังกล่าวได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นและเห็นได้ชัดว่ามีการเริ่มปฏิบัติไปแล้วทั่วโลก ตัวอย่างเช่น

  • Cargill RegenConnect™ เป็นระบบที่เชื่อมโยงเกษตรกรเข้ากับตลาดคาร์บอนใหม่ ๆ และช่วยประเมินการประยุกต์ใช้แนวทางปฏิรูปเกษตรกรรมด้วยความสมัครใจ โดยผลลัพธ์ล่าสุดของโปรแกรมดังกล่าวได้ยกระดับคุณภาพของดินและพัฒนาสิ่งแวดล้อมในเชิงบวกให้กับเกษตรกร
  • Positive Agriculture เป็นความตั้งใจของ PepsiCo ที่ต้องการจำกัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างน้อย 3,000 ล้านตันภายในปีค.ศ. 2030 โดยทางแบรนด์ได้ริเริ่มโครงการจำนวนหนึ่งเพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ ตัวอย่างเช่น แบรนด์ Walker ในสหราชอณาจักรได้ประกาศโครงการ 'circular potatoes' เทคโนโลยีที่ช่วยให้กระบวนการผลิตมีคาร์บอนน้อยลงและเพิ่มสารอาหารในปุ๋ยด้วยเปลือกมันฝรั่ง
    Agoro Carbon Alliance (บริษัทในความดูแลของ Yara บริษัทผลิตปุ๋ย) และ Cool Farm Alliance ได้ริเริ่มโครงการปลูกพืชผลโดยมีผู้ผลิตอาหารคอยสนับสนุน ซึ่งช่วยให้เกษตรกรได้ประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติที่ดีต่อสภาพอากาศ ซึ่งรวมถึงลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และจำกัดการใช้ยาฆ่าแมลงเพื่อลดผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ
  • The Agoro Carbon Alliance (บริษัทในความดูแลของบริษัทผลิตปุ๋ย Yara) และ Cool Farm Alliance ได้ริเริ่มโครงการปลูกพืชผลโดยมีผู้ผลิตอาหารคอยสนับสนุน ซึ่งช่วยให้เกษตรกรได้ประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติที่ดีต่อสภาพอากาศ รวมถึงลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และจำกัดการใช้ยาฆ่าแมลงเพื่อลดผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ

แล้วส่วนสูญเสียล่ะ?

สหภาพยุโรปได้ให้คำนิยามของส่วนสูญเสีย (waste) ว่าคืออาหารและส่วนที่กินไม่ได้ของอาหารที่ถูกนำออกจากขั้นตอนในอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งสามารถนำไปกำจัดทิ้ง หรือสกัดสารอาหาร หรือสร้างพลังงานได้ ข้อมูลของ Food and Agriculture Organization เผยว่าหนึ่งในสามของการผลิตอาหารทั่วโลกจะถูกทิ้งหรือกลายเป็นส่วนสูญเสีย (waste) และครึ่งหนึ่งของส่วนสูญเสีย (waste) เกิดขึ้นก่อนอาหารจะถึงมือผู้บริโภคเสียอีก[2] การสูญเสียอาจเกิดได้ในกระบวนการผลิตอาหาร ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยต่าง ๆ เช่น เสียจากการจัดการไม่ดีพอ หรือจากการเก็บรักษาไม่ถูกต้อง หรืออาจสูญเสียจากการปนเปื้อน หรือในขณะขนส่งซึ่งเป็นผลมาจากอุปกรณ์จัดเก็บหรือทำความเย็นไม่เพียงพอ ส่วนสูญเสีย (waste) เหล่านี้มักมีปลายทางที่กองขยะ อาหารเน่าเสียจะสร้างก๊าซมีเทนซึ่งมีผลต่อก๊าซเรือนกระจกยิ่งกว่าคาร์บอนไดออกไซด์เสียอีก[3].

องค์กรสามารถหลีกเลี่ยงส่วนสูญเสีย (waste) ได้ด้วยการประยุกต์ใช้แบบแผนเศรษฐกิจหมุนเวียน หลักการคือต้อง reuse, recycling และ recovery นั่นหมายความว่าต้องสำรวจช่องทางการนำส่วนสูญเสีย (waste) กลับมาใช้ซ้ำ เปลี่ยนวัตถุดิบให้กลายเป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูง และนำพลังงานกลับมาใช้ใหม่ ผู้นำด้านอุตสาหกรรมอาหารในสหรัฐอเมริกาอย่าง Food Waste Reduction Alliance ได้เคลื่อนไหวเพื่อเพิ่มการบริจาคอาหารและรีไซเคิลส่วนสูญเสียที่จำเป็นต้องถูกกำจัดในขั้นตอนการผลิต จัดจำหน่าย และบริการ ในขณะเดียวกัน Invisible Foods บริษัท start-up จากเยอรมันใช้ AI ในการติดตามและวิเคราะห์อาหารที่เน่าเสียง่าย จากนั้นจึงจับคู่สินค้ากับผู้ซื้อโดยคำนวนจากระดับคุณภาพ 

ในปีนี้ International Organization for Standardization (ISO) ได้เริ่มร่างแผนมาตรฐานเกี่ยวกับอาหารที่ถูกทิ้งและกลายเป็นส่วนสูญเสีย (food loss and waste) เพื่อสร้างแผนการทำงานให้องค์กรต่าง ๆ ได้ตรวจวัดและลดความสูญเสียตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน


HOW TO REDUCE FOOD WASTE THROUGHOUT THE VALUE CHAIN

READ


 

เปิดเผยหลักฐาน

แนวคิดข้างต้นช่วยให้ผู้มีส่วนในการรับผิดชอบด้านอาหารลดความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดความไม่สอดคล้อง และเพิ่มชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จักในหมู่ลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อย่างไรก็ตาม เพื่อดื่มด่ำกับสิทธิประโยชน์นี้อย่างเต็มที่ ผู้ประกอบการด้านอาหารต้องทำรายงานความยั่งยืนขององค์กร ที่ครอบคลุมทุกขั้นตอนตั้งแต่คู่ค้าและการขนส่งจนถึงบริการจัดจำหน่ายสู่ภายนอก รวมถึงการตรวจวัดการปลดปล่อยขอบเขต 3 ที่กำหนดโดย GHG Protocol

เนื่องด้วยข้อกฏหมายและความต้องการของนักลงทุน ลูกค้า และพนักงาน รายงานความยั่งยืนจึงกลายเป็นเอกสารที่องค์กรทั่วโลกต้องเปิดเผยอย่างเร่งด่วน สหภาพยุโรปกลายเป็นหน่วยงานแรกที่เคลื่อนไหวในเรื่องข้อกฏหมายเพื่อสร้างความชัดเจนให้แก่มาตรฐานการรายงานด้วยความสมัครใจที่มีอยู่มากมาย[4] โดยกำหนดไว้แล้วว่ากิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะและมีพนักงานมากกว่า 500 คนจะต้องเผยแพร่รายงานความเสี่ยงและผลกระทบต่อความยั่งยืนอย่างแม่นยำและโปร่งใส รวมถึงต้องมีการตรวจความสอดคล้องจาก third party ด้วย และดูเหมือน EU’s Corporate Sustainability Reporting Directive จะยังก้าวไปอีกขั้นด้วยการขยายข้อกำหนดให้ครอบคลุม 49,000 องค์กรภายในปีค.ศ. 2023

รับรองแผนปฏิบัติที่ยั่งยืน

บูโร เวอริทัส มีบริการตรวจรับรองหลากหลายที่ช่วยให้องค์กรได้ส่งมอบอาหารที่ปลอดภัยและมีคุณภาพ รวมถึงสร้างความมั่นใจและแสดงแผนปฏิบัติที่ยั่งยืนตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า

โปรแกรมการรับรอง เช่น มาตรฐานของ Global Food Safety Initiative (GFSI) ช่วยให้ลูกค้าดำเนินการอย่างสอดคล้องตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน และโปรแกรมรับรองสำหรับอุตสาหกรรมเฉพาะทั้งหลาย เช่น Aquaculture Stewardship Council (ASC), Marine Stewardship Council (MSC) และ Best Aquaculture Practices (BAP) จะช่วยให้มั่นใจได้ว่าผ่านมาตรฐานอุตสาหกรรมแน่นอน นอกจากนี้ บูโร เวอริทัส ยังมีโปรแกรมการตรวจประเมินความเป็นอยู่ที่ดีของสัตว์ที่ปรับได้ตามความต้องการขององค์กรอีกด้วย

โปรแกรม customized audit ของเราช่วยให้องค์กรได้มองเห็นถึงความท้าทายของอุตสาหกรรมอาหาร เช่น การแสดงให้เห็นถึงหลักปฏิบัติที่รับผิดชอบต่อแหล่งที่มา ยิ่งไปกว่านั้น บูโร เวอริทัส ยังตรวจประเมินมาตรฐานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่น มาตรฐานป่าไม้, ISCC สำหรับเชื้อเพลิงชีวภาพ และ ISCC PLUS สำหรับชีวมวล เรายังสามารถตรวจประเมินเพื่อรับรองมาตรฐาน RSPO ที่ช่วยให้องค์กรได้แสดงออกว่าน้ำมันปาล์มของพวกเขามาจากแหล่งผลิตที่ยั่งยืน SMETA ISO14001 ISO50001 และมาตรฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน

นอกจากนี้ บูโร เวอริทัส ยังมีบริการ BV Green Line เราสามารถทำงานร่วมกับท่านเพื่อแสดงออกถึงความโปร่งใสและความน่าเชื่อถือขององค์กร ด้วยการปรับปรุงทุกกระบวนการให้มีความยั่งยืนยิ่งขึ้น