Image
food waste

ลดขยะอาหารอย่างไรให้ได้ผลตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน

Jun. 28 2021

ปริมาณขยะอาหารหรือ Food waste ทั่วโลกมีจำนวนมากจนน่ากังวล องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (UN) เผยว่า 1 ใน 3 ของอาหารมักถูกผลิตมาอย่างสูญเปล่าหรือถูกทิ้งเปล่า[1] โดยทางสหภาพยุโรป (EU) ได้ประมาณการว่า 20% ของอาหารในส่วนนี้จะสูญเปล่า[2]

ประเด็นนี้ฟังดูไม่ค่อยสมเหตุสมผลเมื่อมีการคาดว่าเกือบ 8.9% ของผู้คนทั่วโลกยังต้องอยู่อย่างอดอยาก[3] ของเหลือทิ้งเหล่านี้ยังหมายรวมถึงทรัพยากรธรรมชาติทุกอย่างที่ใช้ในการปลูก การดำเนินการ การบรรจุ การขนส่ง และตลาดที่เป็นทางผ่านของอาหารทั้งหมดจนกระทั่งถูกทิ้ง ยิ่งไปกว่านั้น อุตสาหกรรมอาหารยังมีสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากถึง 25% ของโลก ปล่อยมลพิษมากถึง 3.3 กิกะตันต่อปี ซึ่งหากสมมติว่าอุตสาหกรรมอาหารคือประเทศ นั่นแปลว่าประเทศนี้ปล่อยมลพิษมากเป็นอันดับสามของโลกเลยทีเดียว[4]

เมื่อทราบข้อเท็จจริงดังนี้แล้ว ผู้เกี่ยวข้องจึงหันความสนใจมาต่อกรกับปัญหานี้อย่างเร่งด่วน ลดการสูญเสียอาหารและสนับสนุนชาวสวนท้องถิ่นคือเป้าหมายลำดับที่ 2 ของเป้าหมายเพื่อความยั่งยืน 17 ประการขององค์การสหประชาชาติ (SDGs) และการลดขยะอาหารคือหัวใจสำคัญของ EU's Farm to Fork strategy

แท้จริงแล้ว "ขยะอาหาร" คืออะไร และเกิดขึ้นได้อย่างไร

EU[5] ให้คำนิยามของขยะอาหาร (Food waste) ว่าเป็นเศษอาหารหรือส่วนที่กินไม่ได้ที่ถูกขจัดออกจากห่วงโซ่อาหาร ซึ่งอาจนำไปทิ้งหรือใช้สร้างพลังงานต่อไปก็ได้ นิยามนี้ไม่ได้หมายรวมถึงส่วนที่ถูกกำจัดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ผลผลิตที่ถูกทำลายโดยสภาพอากาศที่ย่ำแย่ หรือส่วนประกอบที่กินไม่ได้ เช่น กระดูก หรือบรรจุภัณฑ์

ผู้ที่อยู่ปลายสุดของห่วงโซ่อาหารหรือผู้บริโภคในปัจจุบันต่างมีคำวิพากษ์วิจารณ์เมื่อรับรู้ว่าพวกเขามีส่วนเกี่ยวข้องที่ทำให้เกิดขยะอาหาร ด้วยการปล่อยให้อาหารหมดอายุหรือการเสิร์ฟอาหารในปริมาณที่มากเกินรับประทาน แต่แท้จริงแล้วเกินครึ่งของขยะอาหารเกิดขึ้นก่อนจะเดินทางมาถึงมือผู้บริโภคเสียอีก อาหารอาจถูกคัดทิ้งในกระบวนการผลิตเนื่องจากหลายสาเหตุ เช่น การบริหารจัดการที่ไม่ดี การใช้เครื่องจักร และการจัดเก็บที่ไม่ถูกต้อง หรืออาจเกิดจากการปนเปื้อน และบรจุภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐานหรือไม่เหมาะสม ปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตสามารถเกิดจากปัญหาด้านอุณหภูมิหรือการจัดเก็บ และทำให้นำอาหารออกไปขายไม่ได้หรือหมดอายุก่อนถูกซื้อออกไป

เนื่องจากสิ่งที่ผู้บริโภคสามารถทำเพื่อลดขยะอาหารมีเพียงแค่การซื้ออาหารเท่าที่จำเป็น และปรุงอาหารในสัดส่วนที่พอดี ดังนั้นอุตสาหกรรมอาหารจึงมีส่วนสำคัญในการแก้ปัญหานี้ ผู้ประกอบการที่มีความรับผิดชอบจึงเริ่มมองหาแนวทางที่สามารถใช้แก้ไขปัญหาเหล่านี้แล้ว

ลดขยะอาหารอย่างไรให้ได้ผล

การแก้ปัญหาขยะอาหารคือหัวใจสำคัญในการบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน โดย SDG ข้อที่ 12 กล่าวถึงแนวทางการผลิตและบริโภคอย่างยั่งยืนที่มุ่งเน้นไปที่เป้าหมายการลดปริมาณอาหารขยะในส่วนของผู้จำหน่ายและผู้บริโภค และลดการสูญเสียอาหารตลอดกระบวนการและห่วงโซ่อุปทานภายในปี ค.ศ. 2030

การป้องกันคือปัจจัยที่สำคัญที่สุดในแผนการลดขยะของ UN ตามมาด้วยการเปลี่ยนวิธีการจัดการอาหารส่วนที่มนุษย์สามารถบริโภคได้ เปลี่ยนส่วนเหลือทิ้งให้กลายเป็นอาหารสัตว์ เพิ่มมูลค่าด้วยการรีไซเคิล ทั้งด้านสารอาหารและพลังงาน การป้องกันไม่ให้เกิดขยะตั้งแต่ต้นทางจึงส่งผลให้ขยะที่ปลายทางลดลง แนวทางนี้จะทำให้ให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนได้ดีขึ้นเนื่องจากลดค่าใช้จ่ายในการรีไซเคิลและการะประเมินมูลค่า อย่างไรก็ตาม การประยุกต์ใช้แบบแผนเศรษฐกิจพอเพียงหรือมุ่งเน้นการใช้ซ้ำ การรีไซเคิล และการฟื้นฟูใหม่ ดูเหมือนจะกลายเป็นส่วนสำคัญในการบรรลุเป้าหมายของ UN

การรีไซเคิลและประเมินมูลค่า

กระบวนการของห่วงโซ่อาหารสามารถดำเนินการได้หลากหลายรูปแบบ เนื่องจากมีปริมาณของเสียประเภทเดียวกันจำนวนมากจึงสามารถนำไปรีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ได้ เช่น พลังงานชีวภาพ ปุ๋ยหมัก หรือผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าอื่น ๆ 

มีหลายแนวทางที่พัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มมูลค่าของเหลือทิ้งจากกระบวนการของผลไม้ ซีเรียล และอาหารที่มีปลาเป็นส่วนประกอบ ขยะจากกระบวนการของผลไม้สามารถนำไปแปรรูปได้หลากหลาย เช่น ใช้แทนสารปรุงแต่งอาหาร ผลิตภัณฑ์ประเภทยาและเครื่องสำอาง อีกทั้งยังมีการวิจัยเพื่อเสาะหาวิธีการแปรรูปขยะจากกระบวนการของเนื้อสัตว์และปลา รวมถึงกรดธรมชาติจากกระบวนการของซีเรียลอีกด้วย

บูโร เวอริทัส สามารถสนับสนุนผู้ประกอบการด้านอาหารได้หลายแนวทาง

การวัดและการตรวจประเมินคือสิ่งสำคัญสำหรับองค์กรที่มองหาแนวทางดำเนินการที่สามารถลดขยะอาหาร องค์กรต้องประเมินอย่างเข้มงวดและตรวจซ้ำไม่เพียงแต่ในส่วนที่สร้างผลกระทบ แต่รวมถึงการดำเนินการทั้งหมดเพื่อการพัฒนาที่เป็นรูปธรรม องค์กรสามารถใช้ KPI ในการติดตามผลการดำเนินงานของแต่ละเป้าหมายได้ และชี้ให้เห็นถึงโอกาสในการลดขยะอื่น ๆ เป้าหมายในการดำเนินการจะต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่องค์กรจะต้องสร้างระบบที่สนับสนุนเป้าหมายนี้ให้เป็นไปอย่างราบรื่น

บูโร เวอริทัส circular+ ถูกพัฒนามาเพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการด้านอาหารสามารถประยุกต์ใช้แบบแผนเศรษฐกิจหมุนเวียนในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน และประยุกต์ใช้แนวทางที่มีความยั่งยืนกว่าเดิมด้วยการ renew, reuse และ recycle วัตถุดิบในทุกขั้นตอนของห่วงโซ่อาหาร ผู้ประกอบการจะสามารถใช้วัตถุดิบอันมีค่าได้อย่างคุ้มค่าและเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมให้กับธุรกิจได้
ด้วยการปฏิบัติตามแนวทางนี้่ร่วมกับการสนับสนุนจากทีมผู้เชี่ยวชาญระดับโลก เปรียบเสมือนการก้าวนำไปอีกขั้น เพื่อแนวปฏิบัติที่ดีกว่าและแสดงให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเห็นถึงจุดยืนที่มั่นคง