Image
THE CHANGING WORLD OF WORKPLACE HEALTH & SAFETY

การเปลี่ยนแปลงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ในสถานที่ทำงาน

Jun. 4 2021

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โลกได้แปรเปลี่ยนไปมากมาย เครื่องมือดิจิทัลและการเชื่อมต่อต่าง ๆ ช่วยให้การทำงานหลายอย่างง่ายขึ้นโดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศ ในขณะเดียวกัน ระบบอัตโนมัติ, หุ่นยนต์, และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานของพนักงานส่วนปฎิบัติการมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงนี้ได้พลิกวิธีการตีความเรื่องอาชีวอนามัยและความปลอดภัยไปโดยสิ้นเชิง บูโร เวอริทัส มีความเชี่ยวชาญที่โดดเด่นในด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เช่น ระบบมาตรฐาน ISO 45001 ซึ่งช่วยให้องค์กรได้ระบุความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในสถานที่ทำงานในยุคดิจิทัล

 

หรือการทำงานที่ยืดหยุ่นจะไม่เหมาะกับทุกคน?

การเสนอวิธีการทำงานที่ยืดหยุ่น (flexible working) กลายเป็นวิธีที่น่าสนใจสำหรับองค์กรที่ต้องการสร้าง Work-Life Balance ให้กับพนักงาน ตามสถิติ ร้อยละ 67 ของพนักงานคาดหวังว่าพวกเขาจะได้ทำงานด้วยวิธีการที่ยืดหยุ่น[1] ซึ่งเป็นความจริงที่เห็นได้ชัดเจนทีเดียว มีรายงานว่าพนักงานที่ทำงานด้วยวิธีการที่ยืดหยุ่นจะสามารถตอบสนองต่อความต้องการส่วนบุคคลและครอบครัวได้ดีกว่า สามารถบริหารจัดการตารางและสภาพแวดล้อมในการทำงาน รวมถึงสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าด้วย[2] สำหรับพนักงานแล้ว การมอบทางเลือกการทำงานที่ยืดหยุ่นให้พวกเขาเปรียบเสมือนสิทธิประโยชน์ที่ช่วยเพิ่มขวัญกำลังใจในการทำงาน และลดอัตราการขาดงานหรือการลาออกจากงานไปพร้อมกัน[2]

อย่างไรก็ตาม ผลการวิจัยที่ผ่านมาได้ชี้ให้เห็นถึงจุดเสี่ยงว่าการทำงานที่ยืดหยุ่นอาจให้ผลลัพธ์ในทางตรงข้ามได้เช่นกัน[3] นั่นเพราะการทำงานที่ยืดหยุ่นมักทำให้เส้นแบ่งระหว่างบ้านและงานเลือนราง อีกทั้งยังก่อให้เกิดแนวคิด "พร้อมทำงานตลอดเวลา" ซึ่งทำให้เกิดผลเสียในทางจิตวิทยาอย่างร้ายแรง ข้อเสียอื่น ๆ ของการทำงานที่ยืดหยุ่นอาจเป็นในทางกายภาพ เข่น อาจเกิดอาการปวดหลัง หรือความเครียดสะสมจากการนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน รวมถึงการนั่งทำงานบนเก้าอี้ที่ไม่เหมาะสมด้วย

เพื่อสนับสนุนพนักงานด้วยวิธีการทำงานที่ยืดหยุ่น สร้างความเป็นอยู่ที่ดีในสถานที่ทำงาน และขจัดความไม่พร้อมในการทำงานที่บ้าน องค์กรสามารถประยุกต์ใช้ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เช่น ISO 45001 ในการจัดการกับปัญหานี้ โดยระบบมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลกนี้ได้มีฉบับปรับปรุงในปี 2018 ที่ผ่านมา เพื่อปรับปรุงนิยามของ "พนักงาน" และ "สถานที่ทำงาน" ใหม่ให้ครอบคลุมกับการปฏิบัติงานในทุกแขนงมากยิ่งขึ้น ไม่จำกัดเพียงพนักงานที่ทำงานในสำนักงานเท่านั้น

ระบบอัตโนมัติเป็นได้ทั้งตัวช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และตัวสร้างความท้อแท้ในการทำงาน

ในปัจจุบัน ระบบอัตโนมัติถูกพัฒนาจนถึงระดับที่ไม่เคยมีมาก่อน สำหรับองค์กรแล้ว หุ่นยนต์, ปัญญาประดิษฐ์, และเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติอื่น ๆ ต่างนำมาซึ่งคำมั่นว่าคุณภาพของงาน ประสิทธิภาพในการทำงาน ความปลอดภัย และความสะดวกสบายจะต้องเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดแน่นอน มีการคาดการณ์ว่าร้อยละ 60 ของอาชีพทั้งหมดจะสามารถถูกแทนที่ได้ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันถึงร้อยละ 30[4]

แต่การที่สามารถใช้ระบบอัตโนมัติมาช่วยงานในส่วนที่พนักงานมองว่ามีความสำคัญน้อยกว่าอาจส่งผลเสียต่ออาชีวอนามัยและความปลอดภัย อ้างอิงจากผลวิจัย[5]ที่ผ่านมา ข้อเสียของระบบอัตโนมัติมีดังนี้

  • ทำให้จำนวนงานเพิ่มขึ้น เพราะพนักงานรู้สึกเหมือนถูกบังคับให้มีประสิทธิภาพในการทำงานมากเท่าเครื่องจักร ซึ่งอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุและความเจ็บป่วย อีกทั้งยังสามารถสร้างความท้อแท้ในการทำงานและแบ่งแยกตลาดแรงงานอีกด้วย 
  • เพิ่มความเสี่ยงให้กับงาน มีรายงานว่าพนักงานที่ปฏิบัติงานกับระบบอัตโนมัติที่มีความเสี่ยงสูง มีความปลอดภัยน้อยลงเป็นอย่างมาก ความไม่แน่นอนนี้มีความเชื่อมโยงกับความเครียดสูง และสุขภาพโดยรวมที่ย่ำแย่ลง

มาตรฐานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในปัจจุบันเริ่มมุ่งเน้นไปที่ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ในสถานที่ทำงานมากขึ้น แท้จริงแล้ว ISO 45001 ได้เพิ่มเงื่อนไขเฉพาะทางเทคนิค (technical specification) ที่จะระบุปัจจัยด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้ระบบอัตโนมัติ

ความเครียดที่ถาโถมสู่พนักงานในยุคดิจิทัล

โลกดิจิทัลและเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์, bionic, เทคโนโลยีที่สวมใส่ได้, Virtual Reality (VR), ฐานข้อมูลจำนวนมาก และการพิมพ์ภาพสามมิติหรือสี่มิติ ได้เข้ามาแปรเปลี่ยนธรรมชาติของการทำงานและวิธีการทำงานของผู้คน การควบคุมด้วยดิจิทัลหรือการควบคุมเครื่องจักรระยะไกลกำลังมาแทนที่อุปกรณ์ควบคุมการทำงานแบบเดิม และเครื่องมืออีกหลายล้านชนิดกำลังถูกพัฒนาให้สามารถใช้ผ่านอินเตอร์เน็ตได้[6] ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าภายในปี 2568 เทคโนโลยีเหล่านี้จะเข้ามามีส่วนในการเปลี่ยนแปลงเครื่องมือ อุปกรณ์ และระบบขององค์กร การจัดการ สินค้า และบริการอย่างใหญ่หลวง

รายงานที่ผ่านมาเผยว่ามีปัจจัยเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยหลายประการที่เป็นผลมาจากการก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล[7] แม้ว่าจะมีผลลัพธ์ด้านบวกมากมาย เช่น ความเสี่ยงด้านสภาพแวดล้อมแบบเดิมลดลงอย่างเห็นได้ชัด แต่ความเครียดของพนักงานกลับเพิ่มขึ้นจากปัจจัยด้านจิตวิทยาและองค์กร ดังนี้

  • เพิ่มการตรวจตราพนักงาน
  • คาดหวังให้พร้อมทำงาน 24 ชั่วโมง
  • มีการเปลี่ยนแปลงเนื้องานบ่อยขึ้น
  • เพิ่มความเสี่ยงด้านการยศาสตร์จากการจ้องหน้าจอมากเกินไป

แผนด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยช่วยเผยให้เห็นถึงความท้าทายเหล่านี้ ตัวอย่างเช่น การประยุกต์ใช้มาตรฐาน ISO 45001 เกี่ยวข้องกับการประเมินพื้นที่เสี่ยงในสถานที่ทำงาน ช่วยวางแนวทางและดำเนินการสู่ความเป็นดิจิทัลโดยมุ่งเน้นพนักงานเป็นสำคัญ ทั้งยังเป็นกรอบการทำงานที่ช่วยทำให้อาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับวิธีการทำงาน มีความรับผิดชอบและน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น

บูโร เวอริทัส ผู้นำด้านการตรวจประเมินระบบมาตรฐาน ISO 45001

บูโร เวอริทัส ให้บริการด้าน “การร่วมมือกันขององค์กรสู่สังคม” เรามุ่งมั่นส่งมอบประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยเพื่อรังสรรค์สังคมที่ดีกว่าเดิม บูโร เวอริทัส เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการตรวจประเมินรายต้น ๆ ที่ได้รับความยินยอมจาก UKAS ให้ตรวจประเมินมาตรฐาน ISO 45001 มาตรฐานดังกล่าวช่วยให้ลูกค้าสามารถตอบสนองความต้องการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน พร้อมเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพตลอดทั้งองค์กร บูโร เวอริทัส มีบริการตรวจประเมินเพื่อรับรองและหลักสูตรฝึกอบรมที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐาน ISO 45001 หลักสูตรฝึกอบรมของเราพัฒนาให้เหมาะสมกับวิธีการเรียนทุกรูปแบบ และบรรยายโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ

1 https://www.powwownow.co.uk/smarter-working/flexible-working-statistics-2017
2 https://www.thebalancecareers.com/advantages-and-disadvantages-of-flexible-work-schedules-1917964
3 https://www.sciencedaily.com/releases/2018/08/180810091553.htm
4 https://www.mckinsey.com/featured-insights/employment-and-growth/technology-jobs-and-the-future-of-work
5 https://www.greeneuropeanjournal.eu/will-technology-improve-health-and-safety-at-work
6 https://www.travelers.com/business-insights/topics/equipment/impact-of-emerging-technology-on-equipment
7 https://osha.europa.eu/en/about-eu-osha/press-room/working-digital-future-new-study-anticipates-safety-and-health-risks-lie

JOIN US