Image
biomass wood pellets

การจัดหาและนำพลังงานชีวภาพมาใช้ในองค์กร

Jun. 15 2021

เมื่อทั่วโลกต่างเผชิญกับความกดดันในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากการดำเนินธุรกิจขององค์กร ส่วนหนึ่งจึงเปลี่ยนไปใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียนแทน หนึ่งในทางเลือกที่พร้อมใช้มากที่สุด คือ พลังงานชีวภาพ (Bioenergy) ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานจากอินทรียวัตถุที่สามารถสร้างความร้อน พลังงานไฟฟ้า และเชื้อเพลิงได้

อย่างไรก็ตาม หลายองค์กรที่สนใจการใช้พลังงานชีวภาพนี้ต้องระมัดระวังเรื่องห่วงโซ่อุปทานเป็นอย่างยิ่ง เพราะก่อนหน้านี้ยังมีการถกเถียงในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการตัดไม้ทำลายป่า รวมถึงความเสี่ยงเรื่อง Indirect Land Use Change (ILUC) และก๊าซมีเทน ดังนั้นองค์กรจึงต้องดำเนินตามข้อกฎหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อทำให้แน่ใจว่าวิธีการที่องค์กรเลือกนั้นมีความยั่งยืนอย่างแท้จริง แหล่งที่มาและวิธีการผลิตพลังงาน รวมถึงระดับคาร์บอนจากกระบวนการต่าง ๆ คือปัจจัยสำคัญที่ต้องมีการตรวจตราและตรวจประเมิน

พลังงานชีวภาพคืออะไร และได้มาจากไหน?

พลังงานชีวภาพสามารถสร้างได้ด้วยการทลายอินทรียวัตถุ เช่น การเก็บเกี่ยวพืชผล ของเสียหรือส่วนที่ไม่ใช้แล้วจากพืชและสัตว์ หรืออาจคุ้นเคยกันในชื่อวัตถุดิบ หรือชีวมวล วิธีการเพื่อให้ได้เชื้อเพลิงมาสามารถทำได้ทั้งการเผา การย่อยสลายด้วยแบคทีเรีย หรือการหมักบ่มให้เกิดก๊าซ วัตถุดิบที่มีลักษณะแห้ง เช่น ไม้ จะถูกเผาในเตาหลอมเพื่อใช้ต้มน้ำให้เกิดไอน้ำ และขับเคลื่อนกังหันหรือใบพัดต่อไป วัตถุดิบที่มีลักษณะเปียก เช่น ของเสียจากสัตว์ จะถูกหมักบ่มในถังที่ไม่มีออกซิเจน เพื่อสร้างก๊าซชีวภาพ และมีเทนชีวภาพ ซึ่งจะถูกกักเก็บและเผาไหม้[1] หรือสูบไปใช้ผ่านท่อส่งแก๊ส ชีวมวลเหล่านี้ยังสามารถใช้กระบวนการหมักบ่มให้เกิดก๊าซที่มีอุณหภูมิสูง เพื่อสร้างก๊าซสังเคราะห์ที่สามารถเผาไหม้สำหรับทำให้เกิดไฟฟ้าได้[2]

เป็นที่ทราบกันดีว่าต้นไม้ พืชผลทางการเกษตร และวัสดุเหลือทิ้งสามารถดูดซับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ การสร้างความสมดุลระหว่างการเก็บเกี่ยวเชื้อเพลิงชีวภาพ กับการอนุรักษ์ป่าไม้และพืชผลอื่น ๆ จึงมีความจำเป็นอย่างมาก ความเป็นกลางของพลังงานชีวภาพขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย โดยเฉพาะประเภทของชีวมวลที่ใช้ในการผลิต หรือชีวมวลที่มาจากแหล่งที่มีคาร์บอนหนาแน่ เช่น ป่าดิบชื้น พื้นที่ชุ่มน้ำ และป่าพรุ

ประเด็นปัญหาด้านความยั่งยืนของชีวมวลคืออะไร?

ถ้าองค์กรดำเนินการเผาไม้เพื่อใช้เป็นพลังงาน องค์กรจะต้องทำให้แน่ใจว่าได้ปลูกป่าทดแทนในส่วนที่เผาไหม้ไปในอัตราที่เท่ากัน เพื่อรักษาสมดุลของจำนวนทรัพยากรในระยะยาว ไม่เช่นนั้นอาจส่งผลต่อระดับการปล่อยคาร์บอนขององค์กรเนื่องด้วยมีไม้ที่ถูกเผามากกว่าการปลูกใหม่ หากการเก็บเกี่ยวถั่วเหลืองหรือน้ำมันปาล์มไม่ใช้วิธีตัดไม้ทำลายป่าก็สามารถนับเป็นทรัพยากรยั่งยืนได้เช่นกัน หากมีการเผาไหม้วัสดุเหลือทิ้งจากสัตว์ก็จะต้องดำเนินการในถังที่ปิดมิดชิด เพื่อกักเก็บก๊าซมีเทนไว้ไม่ให้เล็ดลอดสู่ชั้นบรรยากาศได้

ประเด็นเรื่องความยั่งยืนของชีวมวลนั้นมีมากกว่าเรื่องคาร์บอน การเก็บเกี่ยวสามารถส่งผลต่อความหลากหลายทางชีวภาพและส่งผลต่อการเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดิน รวมถึงปัจจัยด้านสังคมทั้งด้านเงื่อนไขความปลอดภัยในการทำงาน และการดำเนินการตามกฎหมาย สิทธิ์ในที่ดิน และสิทธิมนุษยชน

หากบริหารจัดการทุกอย่างถูกต้องเรียบร้อย ชีวมวลจะกลายเป็นพลังงานที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน อย่างไรก็ตาม องค์กรต้องตระหนักเสมอว่าความผิดพลาดเพียงเล็กน้อยอาจส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมอย่างใหญ่หลวง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับวิธีการนี้ องค์กรจะต้องทำให้แน่ใจว่าแหล่งที่มาของวัตถุดิบเหล่านี้มาจากห่วงโซ่อุปทานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและเชื่อถือได้

เชื้อเพลิงชีวภาพ คำตอบที่มีประสิทธิภาพสำหรับการขนส่ง

การประยุกต์ใช้พลังงานชีวภาพช่วยให้องค์กรสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีนัยสำคัญ ปัจจัยนี้สามารถดึงดูดความสนใจเหล่าธุรกิจที่จำเป็นต้องใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นอย่างมาก เช่น ธุรกิจขนส่ง

เชื้อเพลิงชีวภาพได้ถูกใช้อย่างแพร่หลายในธุรกิจการขนส่งบนท้องถนนมาอย่างยาวนาน และกำลังเป็นที่นิยมสำหรับการขนส่งทางอากาศและเรือสมุทรมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะมีกระแสคาดการณ์ว่าจะมีการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพมากขึ้นอีกร้อยละ 25 ในอีก 5 ปีข้างหน้า[3] รวมถึงข้อกฎหมายของ US และ EU ที่กำหนดกลไกนโยบายเพื่อลดการปล่อยมลพิษจากเชื้อเพลิงของการขนส่ง และสนับสนุนการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพมากยิ่งขึ้น โดย Renewable Energy Directive 2018/2001 หรือ RED II ของ EU มีการสนับสนุนเชื้อเพลิงชีวภาพขั้นสูงและจำกัดสัดส่วนของเชื้อเพลิงชีวภาพที่ผลิตจากผลิตผลทางการเกษตรที่ไม่ยั่งยืนโดยพิจารณาจากผลกระทบของการเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดิน

Carbon Offsetting and Reduction Scheme for International Aviation หรือ CORSIA คือ กลไกนโยบายสำหรับธุรกิจการบินเพื่อเป้าหมายลดการปล่อยคาร์บอนในระยะยาว การเดินทางทางอากาศมีสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึงร้อยละ 1.9 ของก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก[4] เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของ CORSIA สายการบินต่าง ๆ ต้องเลือกใช้ Sustainable Aviation Fuels (SAF) ซึ่งปล่อยมลพิษน้อยลงกว่าเชื้อเพลิงปกติ เชื้อเพลิงชีวภาพจึงกลายเป็นตัวเลือกที่พร้อมใช้ที่สุดสำหรับ SAF

เชื้อเพลิงในรูปแบบเศรษกิจหมุนเวียน

อีกหนึ่งประโยชน์ของการเลือกใช้พลังงานชีวภาพ คือ มีความสอดคล้องกับแผนเศรษฐกิจหมุนเวียน การนำวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิตต่าง ๆ มาเปลี่ยนให้เป็นพลังงาน ช่วยให้องค์กรสามารถประหยัดทรัพยากร เกิดการใช้ซ้ำ และรีไซเคิลของเสียเพื่อทำใช้สิ่งเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตัวอย่างเช่น การนำน้ำมันทำอาหารที่ใช้แล้วจากร้านอาหารหรืออุตสาหกรรมอาหารมาเปลี่ยนให้เป็นไบโอดีเซล เป็นการยืนยันว่าวัสดุที่ถูกนำมาใช้เป็นวัสดุเหลือทิ้งจริง ๆ การสนับสนุนระบบแบบปิดด้วยการละทิ้งกรอบการทำงานแบบเดิมหรือ “take-make-waste” ช่วยให้องค์กรต่าง ๆ สามารถลดวัสดุเหลือทิ้งและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ ซึ่งในกรณีของน้ำมันทำอาหารที่ใช้แล้ว หากกระบวนการนี้เกิดขึ้นที่ยุโรป องค์กรจะได้รับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีอีกด้วย

ถ่านชีวมวลสามารถผลิตได้จากอินทรียวัตถุหลากหลายแบบ ทำให้เชื้อเพลิงชีวภาพสามารถผลิตได้จากแหล่งทรัพยากรที่ไม่จำกัด ความสะดวกใช้ที่กว้างขวางนี้ช่วยให้ต้นทุนการผลิตลดลงเมื่อเทียบกับการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลแบบดั้งเดิม ยิ่งไปกว่านั้น หลายองค์กรใน EU ที่หันมาใช้พลังงานชีวภาพยังมีสิทธิ์ได้รับสิทธิประโยชน์ทางการเงินจากหลายโครงการระดมทุนที่ต้องการสนับสนุนการดำเนินการอย่างยั่งยืนอีกด้วย

ท้ายที่สุดแล้ว ผู้บริโภคกำลังเปลี่ยนพฤติกรรมและความต้องการ ทั้งยังมีความสนใจผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้จ่ายของตนมากขึ้น ด้วยการเปลี่ยนไปใช้พลังงานชีวภาพ องค์กรสามารถดึงดูดความสนใจและรักษาฐานผู้บริโภคเหล่านี้ได้

 

เรียนรู้เกี่ยวกับมาตรฐาน ISCC PLUS เพิ่มเติมกับสัมมนาออนไลน์ในหัวข้อ "Prove your company’s circularity with ISCC PLUS bio and circular materials certification" จาก บูโร เวอริทัส

วันที่ 29 มิถุนายน 2654
เวลา 18.00 - 19.00 น.
บรรยายเป็นภาษาอังกฤษ

ลงทะเบียนเข้าร่วมสัมมนาได้ที่นี่

 

การประยุกต์ใช้และรับรองพลังงานชีวภาพที่ยั่งยืน

ปัจจุบันมีหลายระบบมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับพลังงานชีวภาพให้องค์กรเลือกประยุกต์ใช้ได้ แต่ระบบมาตรฐานที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคงหนีไม่พ้น International Sustainability and Carbon Certification หรือ ISCC ระบบมาตรฐานสากลที่ให้การรับรองวัสดุที่ยั่งยืน เช่นเดียวกับแผนงานอื่น ๆ ที่ได้รับรองโดย EU ISCC สนับสนุนการอนุรักษ์ป่าไม้และความหลากหลายทางชีวภาพด้วยการผลิตชีวมวลอย่างยั่งยืน[5] การที่องค์กรเลือกรับการตรวจประเมินเพื่อรับรองด้วยความเต็มใจจะสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และสนับสนุนการใช้ที่ดินอย่างยั่งยืนและตรวจสอบย้อนกลับได้ ทั้งยังครอบคลุมถึงการปฏิบัติตามข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตชีวมวลและเชื้อเพลิงชีวภาพของ EU ด้วย

สำหรับธุรกิจการบินที่ต้องการใช้ Sustainable Aviation Fuels (SAFs) ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ISCC ได้พัฒนาแผนการรับรองพลังงานชีวภาพสำหรับ CORSIA โดยเฉพาะ ด้วยแผนงานนี้เอง องค์กรจะสามารถแสดงให้เห็นถึงการผลิตชีวมวลอย่างยั่งยืน และแนวปฎิบัติที่สอดคล้องกับข้อกำหนดเกี่ยวกับก๊าซเรือนกระจกและความยั่งยืนอื่น ๆ เชื้อเพลิงที่ถูกต้องตามเงื่อนไขจะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างน้อยร้อยละ 10 ตลอดอายุการใช้งาน และต้องเป็นชีวมวลจากแหล่งทรัพยากรที่สามารถกักเก็บคาร์บอนได้จำนวนมาก[6]

เราจะสนับสนุนท่านได้อย่างไร

บูโร เวอริทัส เซอทิฟิเคชั่น สนับสนุนองค์กรได้โดยการรับรองระดับความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของพลังงานชีวภาพที่องค์กรใช้ บริการของเราช่วยให้องค์กรแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในเส้นทางที่ยั่งยืนและหลีกเลี่ยงคำครหาเรื่องการฟอกเขียว (greenwashing) ซึ่งส่งผลต่อภาพลักษณ์ขององค์กร
ในฐานะหนึ่งในผู้นำด้านการรับรองระดับโลก เราสามารถสนับสนุนองค์กรที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านความยั่งยืนได้เป็นอย่างดี บูโร เวอริทัส เซอทิฟิเคชั่น ได้รับอนุญาตให้ตรวจประเมินเพื่อรับรองมาตรฐาน ISCC EU, ISCC CORSIA, และ REDcert EU การได้รับการรับรองระบบมาตรฐานดังกล่าวจะช่วยให้องค์กรพิสูจน์ได้ว่าพลังงานชีวภาพที่องค์กรใช้มีความสอดคล้องกับข้อกำหนดด้านความยั่งยืนที่กำหนดโดยองค์กรระดับโลกเหล่านี้